ปัญหาใหญ่ของวงการ NFT ก็คงหนีไม่ผลการถูกแฮกเกอร์โจมตี และการละเมิดลิขสิทธิ์ผลงาน ที่ไม่ว่าจะวงการ NFT หรือวงการศิลปะ ก็ยังคงมีการละเมิดลิขสิทธิ์นี้อยู่มาเรื่อย ๆ ไม่จางหายไปสักที 😰
เหตุที่กลโกง NFT เกิดขึ้น ก็คงเป็นเพราะวงการ NFT เป็นวงการที่ถือว่ามีมูลค่าค่อนข้างสูง ยิ่ง NFT มีราคาเพง ก็ยิ่งดึงดูดเหล่ามิจฉาชีพ หรือผู้ที่หวังผลกำไรจากช่องว่างเล็ก ๆ มาโกงเราอยู่เสมอ
โดยกลโกงสองประเภทหลัก ๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่ของวงการ NFT ตอนนี้คือ
“ การละเมิดลิขสิทธิ์ ” และ “ การโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ”
โดย “ การละเมิดลิขสิทธิ์ ” ก็เปรียบเสมือนฝันร้ายของศิลปิน 😨 ไม่ว่าจะในหรือนอกวงการ NFT ก็ตามแต่ เพราะผลงานแต่ละชิ้น ที่ศิลปินแต่ละคน คิดค้น ริเริ่ม สร้างสรรค์ผลงานนั้น ๆ ขึ้นมา มันก็ล้วนแต่เกิดมาจากมุมมอง ความคิดจากตัวศิลปินนั้น ๆ เอง ทำให้เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ ก็เสมือนมีคนมาขโมยมุมมองความคิดที่กว่าศิลปินต้นฉบับผลงานแต่ละคนจะคิดขึ้นมาได้ ก็ช่างยากเย็นเหลือเกิน ซึ่งในวงการ NFT ก็ยังมีกลโกงที่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่มาก โดยเฉพาะการขโมยผลงาน
อีกทั้งการตามหาคนผิดในวงการ NFT ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากโลกออนไลน์ ใคร ๆ ก็สามารถใช้ชื่อปลอมมาหลอกเราได้ทั้งนั้น กว่าจะตามหาได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องยากไม่ใช่น้อยเลย แม้จะร้องเรียนไปยังแพลตฟอร์ม NFT การนำเงินกลับคืนมาชดใช้ก็ไม่สามารถทำได้ในทันที ทำได้เต็มที่ที่สุดคือขอให้แพลตฟอร์มลบบัญชีที่ขโมยงานไปขาย 😵💫💸
“ การโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ” เป็นการโกงด้วยการโจมตีไซเบอร์โดยล็อกเป้าหมายไปที่การขโมยโทเคน NFT บางครั้งอาจมาในรูปแบบเว็บไซต์ NFT ปลอมเลียนแบบเว็บไซต์เจ้าดังที่มีในตลอด หรือสร้างแอคเคาต์โซเชียลมีเดียเลียนแบบขึ้นมาอีกทีแล้วหลอกขาย NFT และในเวลาต่อมาก็ปิดแพลตฟอร์ม หรือปิดเซิร์ฟเวอร์หนีไป ก็ถือเป็นวิธีที่ส่วนใหญ่มิจฉาชีพจะเลือกใช้ 😤
“ วิธีป้องกัน ” 🛡🦾 ที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นเพียงไม่กี่วิธีที่มิจฉาชีพ หรือผู้ที่หวังผลกำไรจากช่องว่างเล็ก ๆ จะใช้มาโกง ซึ่งวิธีที่เราจะป้องกันกลโกงพวกนี้ก็ไม่ยากเลย
เริ่มจากตรวจสอบเว็บไซต์ NFT นั้น ๆ ว่าเปิดมานานเท่าไร ตัวโปรไฟล์ผู้สร้างงานเป็นใคร อย่างใน OpenSea จะมี blue tick หรือเครื่องหมายยืนยันว่าเป็นตัวจริง ไม่ใช่คนอื่นที่มาแอบอ้าง และให้พยายามหาช่องทางโซเชียลของศิลปิน เพื่อยืนยันว่าเป็นตัวจริง ไม่คลิกลิงค์แปลกปลอมตามโซเชียล อีเมล หรือชุมชน NFT เพราะนั่นอาจเป็นลิงค์สแปมที่พยายามเข้ามาขโมยข้อมูลบนวอลเลตได้ และอย่าให้ข้อมูลรหัสวอลเลตกับคนอื่นเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้บุคคลนั้นสามารถเข้าถึงกระเป๋าเงินของเรา และสามารถขโมยมันออกมาได้
กล่าวโดยสรุป กลโกงในวงการ NFT ก็มีมากมายพอสมควร โดยที่พบเห็นบ่อย ๆ ก็คือการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างการดูดผลงานของคนอื่นไปขายต่อ หรือการทำขึ้นมาใหม่แต่ก็อปปี้ หรือลอกเลียนผลงานต้นฉบับมาขายต่อ และอีกช่องทางโกงก็คือการสร้างเว็บไซต์ปลอม หรือสร้างแอคเคาต์โซเชียลมีเดียเลียนแบบขึ้นมาหลอกลวงเรา จากนั้นค่อยปิดแพลตฟอร์ม หรือแอคเคาต์หนีเราไป ซึ่งในวิธีป้องกันก็คือการเช็ค ตรวจสอบที่มาที่ไปของเว็บไซต์ ตัวโปรไฟล์ผู้สร้างงานว่าเป็นใคร พยายามหาช่องทางโซเชียลของศิลปิน เพื่อยืนยันว่าเป็นตัวจริง ไม่คลิกลิงค์แปลกปลอมตามที่ต่าง ๆ และไม่ให้รหัสวอลเลตกับคนอื่นเด็ดขาด
สุดท้ายนี้ก็ขอฝากเว็บคอมมิคสุดเจ๋ง ไว้ไปอ่านกันได้ที่ : https://www.comic.reame.io/